โรงเรียนวัชรวิทยา

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง น้ำหมักชีวภาพพาสุข

เผยแพร่ผลงานรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ รหัสวิชา I20202 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผลงาน น้ำหมักชีวภาพพาสุข

ชื่อเจ้าของผลงาน

  1. เด็กหญิงมนัสชนก คำสร้อย
  2. เด็กหญิงทัศนา อินกรัด
  3. เด็กหญิงธนพร บุญฤทธิ์
  4. เด็กชายภูผา เอี่ยมสิริปรีดา

ชื่อครูที่ปรึกษา นางจิราพร ชัยแสงแก้ว นางศรีสกุล วิบูลย์วงศรีและนางอรษา อภิรมย์วิไลชัย
โรงเรียน วัชรวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41

การศึกษาเรื่องน้ำหมักชีวภาพพาสุข มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการผลิต และตรวจสอบประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพพาสุข 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ และเผยแพร่ความรู้น้ำหมักชีวภาพพาสุข 3) เพื่อเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา 4) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ รูปแบบบันได 5 ขั้น ผ่านกิจกรรม 1 โรงเรียน 1 อาชีพ “วัชรพาณิชย์
วิธีดำเนินการศึกษา คือ ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นผ่านกิจกรรม1 โรงเรียน 1 อาชีพ โดยสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และสรุปเป็นองค์ความรู้ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า 1) น้ำหมักชีวภาพพาสุข มีลักษณะใสสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำตาลไหม้ และมีค่าความเป็นกรดเมื่อนำมาใช้รดต้นผักบุ้งจึงมีความสูง และจำนวนใบ มากกว่าผักบุ้งที่ปลูกและรดด้วยน้ำเปล่า มีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก สามารถป้องกันแมลงได้ และสามารถใช้เป็นปุ๋ยน้ำทดแทนปุ๋ยสำหรับปลูกพืช Hydrophonic ทั้งนี้เนื่องจากน้ำหมักชีวภาพมีแร่ธาตุอาหารหลักของพืชครบถ้วน อีกทั้งมีความเป็นกรดและมีกลิ่น 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ และความคิดเห็นต่อน้ำหมักชีวภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.52 คิดเป็นร้อยละ 90.40 3) นักเรียนมีการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพราะมีการศึกษาตามรูปแบบบันได 5 ขั้น มีการเผยแพร่ผลงานในรูปแบบการสาธิต ป้ายนิทรรศการ สื่อออนไลน์ และโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) รายการโรงเรียนดีมีคุณภาพวัชรวิทยา

ส่วนผสม

วิธีการทำ